ออกแบบสถาปัตยกรรม ให้คำปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูล ด้านประโยชน์ใช้สอย ตลอดจนถึงการควบคุมงบประมาณ

ออกแบบสถาปัตยกรรม ให้คำปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูล ด้านประโยชน์ใช้สอย ตลอดจนถึงการควบคุมงบประมาณ

2018-06-22 10:34:52 | ความรู้เรื่องบ้าน | 738 views
ออกแบบสถาปัตยกรรม ให้คำปรึกษา วิเคราะห์ข้อมูล ด้านประโยชน์ใช้สอย ตลอดจนถึงการควบคุมงบประมาณ

กระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม
การออกแบบสถาปัตยกรรม แบ่งขั้นตอนในการออกแบบได้ 4 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดโครงการ ( Architectural programming )
ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design)
ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาการออกแบบ (Design development)
ขั้นตอนที่ 4 การเขียนแบบก่อสร้าง (Construction Drawing)



      ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดโครงการ (Architectural programming) เป็นการให้คำปรึกษาและขอข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นการวางแผนกำหนดแนวทางการออกแบบ ได้แก่ ความต้องการใช้สอย ( Function ) ศักยภาพของที่ตั้งอาคาร หรือ บริบท ( Context) งบประมาณเบื้องต้น ( Budgets) ทำการสรุปความต้องการขั้นต้นของลูกค้า โดยในขั้นตอนนี้จะมีการพบปะพูดคุยระหว่างสถาปนิกของทางบริษัท และลูกค้ามากกว่า 1 ครั้งเพื่อปรับความเข้าใจต่างๆ ให้ตรงกัน

      ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design) เป็นการสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ ซึ่งผ่านการอนุมัติจากลูกค้าแล้ว มาพัฒนาเป็นแบบร่างอย่างง่ายๆ เพื่อเริ่มออกแบบ ซึ่งสถาปนิกจะทำการวางแนวความคิดในการออกแบบ (Preliminary Concept)และผังพื้นที่ในการใช้สอย ให้กับลูกค้าทำการ พิจารณา รูปแบบการออกแบบ (Style) รวมทั้งกำหนดคุณภาพของพื้นที่การใช้งานต่างๆ (Quality of space) นำเอาพื้นที่ต่างๆมาจัดวางลงไปในที่ตั้ง เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสม (Zoning) หรือวางผังพื้นที่ใช้สอย อย่างง่ายๆ (Lay-out Plan) ผนวกแนวความคิด (Concepts)ที่สะท้อน ความเป็นเอกลักษณ์ ของโครงการมาสร้างรูปทรงที่สอดคล้องกับบริบท และการใช้งาน (Schematic design) พร้อมทั้งการเสนองบประมาณค่าใช้จ่าย (Preliminary Budget ) เพื่อให้ลูกค้าทำการพิจารณาการแบ่งพื้นที่ทั้งหมดว่าตรงกับความต้องการใช้งานจริงของลูกค้าหรือไม่
      เมื่อผ่านขั้นตอนนี้แล้ว ลูกค้าจะเริ่มเข้าใจและมองเห็นหน้าตาของงานออกแบบที่สถาปนิกจะพัฒนาในขั้นตอนต่อไป และลูกค้าอาจจะขอปรับแบบได้ แต่ไม่ควรจะแก้ไขแบบจนผิดไปจากแนวความคิดในการออกแบบและผังที่ได้วางเอาไว้ เพราะจะทำให้สถาปนิกต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะทำให้งานออกแบบยืดเยื้อ ไม่เสร็จในระยะเวลาที่กำหนด

      ขั้นตอนที่ 3 พัฒนาการออกแบบ (Design development) ในขั้นตอนนี้ สถาปนิกจะทำการพัฒนาแบบต่อจากแบบร่างขั้นต้น เป็นการพัฒนารูปทรงและตำแหน่งให้มีความละเอียด กำหนด ขนาดพื้นที่การใช้งานและทางสัญจรที่เหมาะสม (Area requirement and circulation) เพิ่มรายละเอียด ช่องเปิด ประตู สุขภัณท์ เฟอร์นิเจอร์ (Detailed design) ระบุวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง รวมถึงวัสดุตกแต่ง (Materials) กำหนดระดับความสูง ตำแหน่งระยะ (Level & Dimension)โดยสถาปนิกจะนำเสนอเป็นภาพ Perspective ที่เสมือนจริง หรือ Model ที่ ใกล้เคียงกับงานออกแบบ ที่จะสร้างจริงมากที่สุด เพื่อให้ลูกค้าสามารถจินตนาการงานทั้งหมดได้ชัดเจน และในขั้นตอนนี้ลูกค้าอาจจะขอแก้ไขแบบร่าง ในส่วนรายละเอียดได้บ้าง แต่ไม่มากนัก เนื่องจากแบบในขั้นตอนนี้ มักจะได้รับการอนุมัติจากแบบร่างขั้นต้น เกือบทั้งหมดแล้ว

      ขั้นตอนที่ 4 การเขียนแบบก่อสร้าง (Construction Drawing) เป็นการเขียนแบบก่อสร้าง เพื่อใช้เป็นแบบอ้างอิงที่มีการกำหนดระยะขนาด และ ระบุวัสดุที่ใช้ (Dimension & Materials) นำเสนอในรูปแบบ ผังบริเวณ แปลน รูปด้าน และ รูปตัด (Plan Elevation & Section) ในกรณีที่แบบมีความซับซ้อน จำเป็นต้องเพิ่มแบบขยายรายละเอียด (Detailed design) โครงสร้างหลังคา บันได ราวจับ รวมถึง ประตู หน้าต่าง ห้องน้ำ เป็นต้น